วันพุธที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ฤาษีเลี้ยงช้าง นิทานชาดก

คนว่ายาก สอนยาก ใครเตือนก็ไม่ฟัง ทำตามใจตนเอง โดยไม่คิดถึงคำเตือนของผู้อื่น ผู้นั้นมักฉิบหาย ดังนิทานใน "อินทสมานโคตชาดก ทุกนิบาท" เรื่องต่อไปนี้

ณ ท่ามกลางป่าอันสงบร่มเย็น มีต้นไม้และลำธารอันอุดมสมบูรณ์ ฤาษีตนหนึ่งปลูกอาศรมอยู่ไม่ห่างจากลำธารมากนัก บำเพ็ญเพียรภาวนาอยู่อย่างสงบสุข และมีคนมาบวชเป็นศิษย์มากขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งฤาษีก็สอนให้ทุกคนเป็นคนดี ไม่เบียดเบียนผู้อื่น ไม่ลักขโมย ไม่ประพฤติตนออกนอกลู่นอกทาง ไม่มุสา ไม่เสพของมึนเมาทุกชนิด ซึ่งลูกศิษย์ทุกคนต่างปฏิบัติตนอย่างเคร่งครัด

ต่อมามีชายหนุ่มคนหนึ่งนามว่า "อินทสมาน" มาขอบวชเป็นลูกศิษย์อยู่ด้วย แรก ๆ ก็ไม่มีปัญหาอะไร แต่พอนาน ๆ ไป ฤาษี
อินทสมานเริ่มแก่วัด จึงออกลวดลาย อาจารย์ว่ากล่าวตักเตือนอะไรเขาก็ไม่ยอมฟัง จะโต้เถียงแย้งอาจารย์ไปข้าง ๆ คู ๆ แต่อาจารย์ก็ไม่ว่าอะไร เพราะคิดว่า "ไม่คุ้มเสีย"

จำเนียรกาลต่อมาฤาษี
อินทสมาน ได้นำเอาลูกช้างมาลี้ยงในอาศรมฝ่ายอาจารย์รู้เรื่องก็รีบเข้าไปกล่าวตักเตือน



"
อินทสมาน การเอาลูกช้างมาเลี้ยงไว้มันก็ดีอยู่ แต่เราไม่ใช่ควาญช้าง เราเป็นฤาษี จะเลี้ยงให้มันเชื่องได้อย่างไรหรือ เกิดมันเป็นสัตว์ดุร้าย มันจะเป็นภัยต่อตัวเองนะ เราเป็นฤาษีควรจะบำเพ็ญเพียรภาวนา มากกว่าหาอะไรมาผูกมัดตัวเองเช่นที่เธอกำลังทำอยู่นี่"

"อาจารย์ครับ สงสารมันนะ กลัวมันไม่มีอะไรกินอย่างเพียงพอ" ฤาษี
อินทสมานแย้งอาจารย์

"
อินทสมาน ธรรมดาช้างมันอยู่ป่าซึ่งอุดมสมบูรณ์ มันคงไม่อดตายหรอกนะ ควรปล่อยให้มันไปอยู่ป่าเสีย" อาจารย์ยังกล่าวเตือนสติของลูกศิษย์

"อาจารย์ ... ผมอยากเลี้ยงไว้ดูเล่น ไหน ๆ ก็เลี้ยงมันแล้ว นึกว่าสงสารมัน" ลูกศิษย์หัวดื้อไม่ยอมฟังอาจารย์ เถียงไปข้าง ๆ คู ๆ

ฤาษี ผู้เป็นอาจารย์ไม่ว่าอะไรอีก และได้เดินหนีไปจากที่นั่น ฝ่ายฤาษี
อินทสมาน ก็ยังคงเลี้ยงลูกช้างต่อไป

ต่อมาคราวหนึ่ง ฤาษี
อินทสมานได้เข้าป่าลึกไปหาผลไม้กับลูกศิษย์คนอื่น ๆ เป็นเวลาถึง 3 วัน ปล่อยให้ช้างอดอาหารอยู่ที่อาศรม จนเกิดอาการคลุ้มคลั่ง

"โอ้ยหิว ฤาษีชั่วปล่อยให้เราหิวจนแสบไส้ เดี๋ยวต้องจัดการให้สาสม"

เมื่อคิดเช่นนั้นแล้ว ช้างหิวก็ทำลายเครื่องใช้สอยของฤาษีจนหมดสิ้น แล้วก็ออกไปคอยดักทางของฤาษี ด้วยจิตหวังร้าย

ฝ่ายฤาษี พอได้ผลไม้ตามที่ต้องการแล้ว ก็พากัันกลับมาที่อาศรมเจ้าช้างหิวก็แอบอยู่ข้างทางด้วยหวังจะกำจัดฤาษีหนุ่มผู้ที่ทำให้ตนหิวโหย เมื่อได้โอกาสเหมาะมันก็แล่นออกจากที่ซ่อน ตรงเข้าไป เอางวงรัดฤาษีหนุ่มแล้วฟาดกับพื้นจนถึงแก่ความตาย แล้ววิ่งเตลิดหนีเข้าป่าไป
ผ่ายลูกศิษย์ได้ไปหาอาจารย์แล้วเล่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นให้อาจารย์ฟังอย่างละเอียด อาจารย์จึงยกอุทาหรณ์สอนลูกศิษย์ว่า

"การคบกับคนพาลนั้น ย่อมนำอันตรายมาให้อย่างแน่นอน เป็นคนไม่ควรดื้อดึงต่อคำแนะนำสั่งสอนของครูอาจารย์ และนักปราชญ์ ควรทำตัวเป็นคนว่านอนสอนง่าย "


มาชาติสุดท้าย ฤาษีว่ายากได้เกิดเป็นภิกษุว่ายากรูปหนึ่ง ส่วนอาจารย์ได้มาเกิดเป็นพระพุทธเจ้า

นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า คนที่ได้ชื่อว่า "นักเรียน นักศึกษา" ที่พ่อแม่ครูอาจารย์ สู้อุตสาห์แนะนำพร่ำสอน แต่ไม่ยอมเชื่อฟังหนีเรียนเที่ยวห้างสรรพสินค้า เที่ยวผับ เที่ยวบาร์ สร้างความเสื่มเสียต่อวงศ์ตระกูล และสุดท้ายก็กลายเป็น "ขยะสังคม"

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น